
การขอใบอนุญาตเพื่อใช้งานเครื่องวิทยุสื่อสารสำหรับธุรกิจ ห้างร้านต่างๆอย่างถูกกฏหมายนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงและให้ความสำคัญไม่แพ้กัน ก่อนที่จะดำเนินการขอใบอนุญาตนั้น มีดังนี้
วิทยุสื่อสารประเภทที่สามารถใช้งานได้ในธุรกิจ มีอะไรบ้าง
- วิทยุสื่อสารความถี่ประชาชน เครื่องสีแดง ความถี่ 245.0000 – 246.9875 MHz สามารถใช้งานได้
- วิทยุสื่อสาร POC หรือวิทยุสื่อสารใส่ซิม ใช้คลื่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือ สามารถใช้งานได้
- วิทยุสื่อสารสมัครเล่น เครื่องสีดำ ความถี่ 144 – 147 MHz ไม่สามารถใช้งานได้
- วิทยุสื่อสารราชการ เครื่องสีดำ ความถี่ 136 – 174 MHz ไม่สามารถใช้งานได้
วิทยุสื่อสารเครื่องต้องถูกกฏหมาย ดูอย่างไร
ขั้นตอนต่อไป ต้องเลือกใช้วิทยุสื่อสารที่มีการนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฏหมาย มี ปท. หรือ NBTC ID โดยสามารถตรวจสอบได้ที่ตัวเครื่อง โดยเป็นสติกเกอร์ที่มีรูปตราครุฑแปะอยู่ในช่องเสียบแบตเตอรี่ (แกะแบตเตอรี่เครื่องออกเพื่อดู) หรือสอบถามได้จากผู้ค้า หากไม่มี ถือว่า ผิดกฏหมาย
การขอใบอนุญาตวิทยุสื่อสาร ทำอย่างไร
การขอใบอนุญาตวิทยุสื่อสารนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
- วิทยุสื่อสาร กำลังส่ง 5 วัตต์ ต้องขอใบอนุญาตมี/ใช้วิทยุสื่อสาร
- วิทยุสื่อสาร กำลังส่ง 0.5 วัตต์ และวิทยุสื่อสาร POC / ใส่ซิม ไม่ต้องขอใบอนุญาต แต่ต้องเป็นเครื่องถูกกฏหมาย ตามหัวข้อด้านบน
- วิทยุสื่อสารติดตั้งในรถยนต์ หรือประจำที่ กำลังส่ง 10 วัตต์ ต้องขอใบอนุญาตมี/ใช้วิทยุสื่อสาร และใบอนุญาตตั้งสถานี
สำหรับการขอใบอนุญาตของวิทยุสื่อสารเครื่องสีแดง ความถี่ประชาชน ต้องใช้เอกสารดังนี้
กรณีบุคคลธรรมดา
- กรอกแบบฟอร์มคำร้อง คท. 2 (ดาวน์โหลด)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ทะเบียนบ้าน พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ใบ
- หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีให้บุคคลหรือร้านค้าดำเนินการให้ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ดาวน์โหลด)
- แจ้งหมายเลข NBTC ID วิทยุสื่อสาร (หมายเลขที่มีสัญลักษณ์รูปครุฑขึ้นต้นด้วยคำว่า ID)
- แจ้งหมายเลขเครื่อง S/N ในใบรายละเอียดแนบท้ายขอใบอนุญาต (ดาวน์โหลด)
- ค่าใบอนุญาต 535 บาทรวมภาษีฯ ต่อเครื่อง ใช้ได้ตลอดอายุการใช้งานของเครื่อง
- สามารถให้ร้านค้าดำเนินการแทนให้ได้ โดยเช็คได้กับร้านขายวิทยุสื่อสารที่ใช้บริการ
กรณีในนามบริษัท หรือนิติบุคคล
- กรอกแบบฟอร์มคำร้อง คท. 2 (ดาวน์โหลด) โดยกรอกรายละเอียดบริษัท และประทับตราบริษัท หน้าที่ 2
- สำเนาหนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล มีอายุไม่เกิน 90 วัน พร้อมลงชื่อโดยกรรมการผู้มีอำนาจและประทับตราสำคัญ (ทุกหน้าเอกสาร)
- สำเนาเอกสารใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ (ภพ.20) พร้อมลงชื่อโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และประทับตราสำคัญ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือ ผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมลงชื่อและประทับตราสำคัญ
- หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีให้บุคคลหรือร้านค้าดำเนินการให้ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ดาวน์โหลด)
- แจ้งหมายเลข NBTC ID วิทยุสื่อสาร (หมายเลขที่มีสัญลักษณ์รูปครุฑขึ้นต้นด้วยคำว่า ID)
- แจ้งหมายเลขเครื่อง S/N ในใบรายละเอียดแนบท้ายขอใบอนุญาต (ดาวน์โหลด)
- ค่าใบอนุญาต 535 บาทรวมภาษีฯ ต่อเครื่อง ใช้ได้ตลอดอายุการใช้งานของเครื่อง
- สามารถให้ร้านค้าดำเนินการแทนให้ได้ โดยเช็คได้กับร้านขายวิทยุสื่อสารที่ใช้บริการ
หากไม่ได้ขอใบอนุญาต จะมีบทลงโทษอย่างไรบ้าง
การใช้วิทยุสื่อสารโดยไม่มีใบอนุญาตนั้น มีความผิดตามมาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 1 แสนบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
ขอคำปรึกษาการขอใบอนุญาตวิทยุสื่อสาร หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สำหรับใครที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือขอคำปรึกษา เรื่องการขอใบอนุญาตวิทยุสื่อสาร สามารถปรึกษากับร้านขายวิทยุสื่อสารในพื้นที่ได้ หรือติดต่อ นิว เวฟ ดิสทริบิวชั่น ผู้นำด้านการนำเข้าและค้าส่งวิทยุสื่อสารชั้นนำของประเทศไทย พร้อมตัวแทนจำหน่ายกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ดูแลได้ทั่วถึง สามารถติดต่อเราได้ที่ช่องทางด้านล่างนี้เลย เราพร้อมให้บริการ